เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด การใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญาปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรคที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อัญญาตาวินทรีย์1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ 2 เป็นต้น จบ
โลกุตตรวิปากจิต จบ

อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก
[556] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/220/148

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :160 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
[557] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[558] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกาย
วิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[559] ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[560] ทุกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกขินทรีย์1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 3 ผัสสะ 1 ฯลฯ
กายวิญญาณธาตุ 1 ธัมมายตนะ 1 และธัมมธาตุ 1 ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[561] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้
อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก จบ

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/220/147

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :161 }